วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติผีเสื้อ

  • ผีเสื้อ (แมลง) (butterfly), ชื่อแมลงทุกชนิดในอันดับ Lepidoptera มีปีกเป็นแผ่นบางสองคู่ ลำตัว ปีก และขาปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่น เมื่อมองด้วยตาเปล่า เกล็ดเหล่านี้ทำให้เกิดสีต่าง ๆ กัน ปากเป็นงวงยาวม้วนเข้าอยู่ใต้หัวได้ มีทั้งชนิดหากินในเวลากลางวัน เรียก ผีเสื้อกลางวัน, พายัพเรียก กะเบ้อ กำเบ้อ ก่ำเบ้อ หรือ อีเบ้อ, และชนิดหากินในเวลากลางคืน เรียก ผีเสื้อกลางคืน, พายัพเรียก แมงกาย
  • พรรณไม้
    ความเชื่อ
    ตัวละคร
    การดนตรี
    โลกของผีเสื้อ
    ผีเสื้อจัดเป็นสัตว์ในไฟลัมอาร์โทร์โปดา (Phylum Arthropoda) เช่นเดียวกับแมลง ทั่วๆ ไป ผีเสื้ออยู่ในอันดับเลพิดอปเทอรา (Orderlepidoptera) ของชันอินเซกตา (Class Insecta) แมลงที่อยู่ในอันดับนี้มีลักษณเด่นตรงที่ปีกปกคลุมไปด้วยเกล็ดสีเล็กๆ เรียงซ้อนกัน  คำว่าเลพิดอปเทอรา (Lepidoptera) มาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ เลพิส (Iepis) แปลว่าปีก   นั่นก็คือ  ปีก,เกล็ด หรือ ปีกมีเกล็ด
    ทำไมเราจึงเรียกแมลงปีกบางสีสดสวยนี้ว่า ผีเสื้อ  สันนิษฐานกันว่าเนื่องจากปีกของผีเสื้อมีสีสันสดใสเหมือนกับสีของเสื้อผ้าที่คนเราสวมใส่  และการที่ผีเสื้อบินร่อนไปมา  ทำให้คนโบราณคิดกันไปว่ามีผีไปสิงอยู่ในตัวมัน  แม้นแต่ในปัจจุบัน  ชาวชนบทบางแห่งก็ยังเรียกผีเสื้อว่า แมลงผี  บางท่านก็สันนิฐานว่ามาจาก ผีเชื้อ เนื่องจากคติทางอีสานเชื่อว่าการที่มีผีเชื้อบินมาเป็นกลุ่มจำนวนมากมายจะเกิดโรคระบาด จึงทำให้เข้าใจกันว่าผีเสื้อเป็นผีเชื้อโรค  สำหรับทางภาคเหนือเรียกผีเสื้อว่า แมงกะป้อหรือแมงกะเบี้ย  ชื่อเรียกในภาษาอื่น มีเช่น   ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าโจโจ้  ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่าหู่เตี๊ยบ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Butterfly  แต่ไม่ว่าแมลงปีกบางที่ประดับด้วยเกล็ดหลากสีสันนี้จะมีชื่อเรียกอย่างไรก็ตาม  ผู้คนต่างยอมรับว่าผีเสื้อคือหนึ่งในหมู่แมลงที่สร้างความสวยงามให้แก่ธรรมชาติ
    กล็ดปีกของผีเสื้อมี 2 ลักษณะด้วยกันคือ เกล็ดที่ไม่มีเม็ดสีแต่เป็นสันนูนขึ้นมา  เมื่อสะท้อนแสงจะเกิดสีรุ้งแวววาว และเกล็ดที่มีเม็ดสีอยู่ภายใน  เม็ดสีภายในเกล็ดนี้เกิดได้ทั้งจากสารเคมีที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเองและสารเคมีที่แปรรูปจากสารอาหารที่หนอนผีเสื้อกินเข้าไป  เกล็ดสีเมื่อมองเกล็ดด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นเพียงฝุ่นสี  และบอบบางมากเพียงสัมผัสด้วยปลายนิ้วเบา ๆ ก็จะหลุดติดมือมาทันที
    สารที่ทำให้เกิดเม็ดสีต่าง ๆ ในเกล็ดคือ
       1. เทอรีน (pterrin) เป็นสารที่แปรรูปมาจากกรดยูริก  ในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ มีสีส้มและสีแดง  สีแดงเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศจะซีดลงเรื่อย ๆ
       2. ฟลาโวน  (flavone) เป็นสารที่ผีเสื้อสร้างขึ้นเองไม่ได้  ต้องได้รับมาจากพืชที่กินเข้าไปในระยะตัวหนอน  ทำให้มีสีขาวจนถึงสีเหลือง พบในวงศ์ผีเสื้อสีตาลและวงศ์ผีเสื้อบินเร็วบางชนิด
       3. เมลานิน (melanin) มีสีดำเป็นเม็ดสีแบบเดียวกับคนและสัตว์ทั่วไป
     ส่วนสีเขียวและสีม่วงฟ้าเกิดจากเกล็ดที่ไม่มีสี  เมื่อแสงส่องผ่านเยื่อบาง ๆ หลายชั้นของแผ่นปีกจะสะท้อนออกเป็นสีดังกล่าว

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556